ไลฟ์สไตล์
รู้หรือไม่ วันลาตามกฏหมาย มีวันอะไรบ้าง?
30 เม.ย. 67

วันแรงงานแห่งชาติ (National Labor Day) เกิดขึ้นครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกา โดยเริ่มจัดขึ้นครั้งแรกในวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2425 (ค.ศ. 1882) ณ นครนิวยอร์ก เพื่อเฉลิมฉลอง และเป็นเกียรติแก่แรงงานและความพยายามของชนชั้นแรงงานทั่วประเทศ ซึ่งต่อมาได้แพร่กระจายไปยังประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ส่วนวันแรงงานแห่งชาติในประเทศไทยเริ่มจัดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) มีการประกาศใช้โดยรัฐบาลไทยในขณะนั้น เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองและเป็นเกียรติแก่แรงงานในประเทศไทย ตั้งแต่นั้นมา วันแรงงานแห่งชาติจึงได้รับการจัดขึ้นทุกวันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปีเป็นประจำ วันนี้แอดมิน ขอนำสิทธิวันลาตามกฏหมายคุ้มครองแรงงานของไทยมาฝากกัน

ลาป่วย
สามารถลาได้ตามที่เจ็บป่วยจริง โดยได้รับค่าจ้างตลอดเวลาที่ลา หากลาตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไป ควรแสดงใบรับรองแพทย์แก่นายจ้าง

ลากิจ
มีสิทธิลาได้ไม่น้อยกว่า 3 วันต่อปี เพื่อไปทำธุระส่วนตัวต่างๆ อาทิ พาครอบครัวไปหาหมอตามนัด, ไปดำเนินการเอกสารราชการ, ไปเป็นพยานตามหมายศาล, ไปร่วมงานศพ, ไปรับปริญญาได้ทั้งของตนเองและของคนสนิท หรือเพื่อไปสอบ เป็นต้น โดยได้รับค่าจ้างตลอดเวลาที่ลา

ลารับราชการทหาร
ลาได้ตามที่หน่วยงานทหารระบุเพื่อเรียกพล ฝึกวิชาทหาร หรือเพื่อทดสอบความพร้อม โดยได้รับค่าจ้างตลอดเวลาที่ลาแต่ไม่เกิน 60 วันต่อปี

ลาคลอดบุตร
ลาได้ไม่เกิน 98 วัน โดยให้นับรวมวันหยุดที่มีในระหว่างวันลา ซึ่งจะได้รับค่าจ้างไม่เกิน 45 วัน การลาคลอดนี้สามารถทำได้ตั้งแต่ช่วงลาตรวจครรภ์ก่อนคลอดบุตร ระหว่างคลอดบุตรและพักฟื้นหลังคลอดบุตร

ลาทำหมัน
ลาได้ตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนด และระบุในใบรับรองแพทย์ โดยการลาทำหมันจะได้รับค่าจ้างในวันลานั้นด้วย

หมายเหตุ: จำนวนวันลา อาจมีความแตกต่างกันตามนโยบายของแต่ละบริษัท แต่ต้องไม่ต่ำกว่าจำนวนวันลาตามที่กฏหมายกำหนด
ขอบคุณข้อมูลจากกระทรวงแรงงาน 

#วันแรงงานแห่งชาติ #MayDay #1พฤษภาคม #วันสำคัญ #LaborDay #OceanProperty

  • บทความล่าสุด
    • เคล็ดลับ
      วิธีดูแลบ้านในช่วงหน้าฝน
    • เคล็ดลับ
      เตรียมเอกสารยื่นกู้บ้านที่โอเชี่ยน ทาวน์ ง่ายๆ
    • อัพเดท
      ชี้เป้า 9 ธุรกิจทำเงิน สำหรับอาคารพาณิชย์ ทำเลทองในเมืองภูเก็ต
    • ไลฟ์สไตล์
      รู้หรือไม่ วันลาตามกฏหมาย มีวันอะไรบ้าง?
  • บทความที่เกี่ยวข้อง